วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

การสรัทธาต่อกฎสถาวะ

จากท่านอบู:อัล-อับบาส อับดุลลอฮ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮอันฮุมา เล่าว่า: "ในวันหนึ่งในขณะที่ฉันนั่งอยู่ข้างหลังท่านนบี ท่านก็ได้กล่าวกับฉันว่า: "โอ้เด็กน้อย ฉันจะสอนถ้อยคำแค่เจ้า: เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮ แล้วอัลลอฮจะพิทักษ์เจ้า เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮ แล้วเจ้าจะพบพระองค์อยู่เบื้องหน้า เมื่อเจ้าจะวิงวอนขอก็จงวิงวอนขอต่ออัลลอฮ และเมื่อเจ้าจะขอความช่วยเหลือก็จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ แล้วเจ้าจงพึงทราบเถิดว่า หากประชาชาติทั้งหมดรวมกันเพื่อทำคุณประโยชน์อย่างหนึ่งแก่เจ้า พวกเขาไม่สามารถทำคุณประโยชน์ใดๆ แก่เจ้าได้เลยนอกจากสิ่งที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ให้แก่เจ้าแล้ว และหากพวกเขารวมกันทำอันตรายแก่เจ้าด้วยบ้างสิ่ง พวกเขามิอาจทำอันตรายใดๆ แก่เจ้าได้เลย นอกจากสิ่งที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ให้แก่เจ้าแล้ว ปากกาได้ถูกยกขึ้นและกระดาษทันทึกก็แห้งแล้ว "บันทึกโดยอัต-ติรมีซีย์ และท่านกล่าวว่า "หะดิษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้ห"
           และในรายงานอื่นนอกจากการรายงานของอัต-ติรมิซีย์มีสำนวนว่า: "เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮแล้วเจ้าจะพบอัลลอฮอยู่เบื้องหน้า เจ้าจงรู้จักอัลลอฮในยามสุขสบาย แล้วพระองค์จะรู้จักท่านในยามทุกข์ยาก และเจ้าจงพึงทราบเถิดว่า สิ่งใดที่คราดแคล้วจากท่าน มันย่อมไม่ประสบกับท่านและสิ่งใดที่มันประสบกับท่าน มันย่อมไม่คลาดแคล้วจากท่านอย่างแน่นอน และเจ้าจงทราบเถิดว่าชนะอยู่กับความอดทน และความสุขอยู่กับทุกข์ และความสะดวกง่ายดายอยู่กับความยากลำบาก"


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮ

จากท่านอบู วัร เราระฎิยัลลอฮอันฮุ เช่นกัน ท่านกล่าวว่า: มีเศาะหาบะฮของท่านเราะสูลุลลอฮกลุ่มหนึ่งได้กล่าวแค่ท่านว่า: "โอ้เราะสูลุลลอฮ ! พวกคนรวยได้เอาบุญไปหมดแล้ว พวกเขาละหมาดเหมือนกับพวกเราละหมาด และพวกเขาถือศีลอดเหมือนกับพวกเราถือศีลอด แต่พวกเขาได้บริจาคทาน (เศาะดะเกาะฮ) ดว้ยทรัพย์สินที่มีล้นเหลือของเขา" ท่านนบีกล่าวว่า: "อัลลอฮมิได้ทรงสร้างสิ่งที่ใช้บริจาคทานให้แก่พวกท่านดอกหรือ? แท้จริง ทุกๆ การตัสบีห (การกว่าวว่า"สุบหานัลลอฮ") เป็นการบริจาคทาน และทุกๆ การตัสบีห (การกล่าวว่า"อัลลอฮุอักบัร") เป็นการบริจาคทาน และทุกๆ การตะหมีด (การกล่าวว่า"อัลหัมดุลิลลาฮ") เป็นการบริจาคทาน และทุกๆการตะฮลีล (การกล่าวว่า ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮ) เป็นการบริจาคทาน และการสั่งใช้ให้ทำความดี เป็นการบริจาคทาน การห้ามปรามจากสิ่งที่ชั่วช้าเป็นการบริจาคทาน และการนอนหลับกับภรรยาของท่านก็การบริจาคทาน"พวกเขาถามว่า :"โอ้ท่านรอสูลุลลอฮ การที่คนใดคนหนึ่งจากพวกเราได้ระบายความใคร่ของเขาๆ จะได้รับผลบุญด้วยหรือ ?" ท่านรอสูลุลลอฮตอบว่า : "พวกท่านจงบอกฉันสิว่า หากเขาระบายความใคร่ของเขาในทางที่หะรอม เขาจะมีความผิดใช่ไหม ? ดังนั้นก็เช่นเดียวกัน หากเขาระบายความใคร่ของเขาในทางที่อนุมัติ (หะลาล) เขาก็ย่อมได้รับผลบุญ" หะดีษบันทึกโดยมุสลิม

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557


            เซลล์ปฐมภูมิ

แบตเตอรี่ (อังกฤษ: Battery) ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บพลังงาน และนำมาใช้ได้ในรูปของไฟฟ้า แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เช่น เซลล์กัลวานิกหรือเซลล์เชื้อเพลิง อย่างน้อยหนึ่งเซลล์

เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่าอาเลสซานโดร โวลตา เมื่อ ค.ศ. 1800 ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว [1]


ประเภทแบตเตอรี่สามัญ[แก้]

แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และชนิดใช้แล้วทิ้ง[แก้]


ตัวอย่างแบตเตอรี่หลายชนิด (จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง): ถ่านไฟฉายขนาด AA สองก้อน, ถ่านไฟฉายก้อนใหญ่ (D), แบตเตอรี่วิทยุสื่อสาร, ถ่าน 9 โวลต์ (PP3) สองก้อน, ถ่านไฟฉายขนาด AAA สองก้อน, ถ่านไฟถ่ายก้อนกลาง (C), แบตเตอรี่กล้องวีดีโอ, และแบตเตอรี่โทรศัพท์บ้านไร้สาย

จากมุมมองของผู้ใช้แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้; แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และ แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ (ใช้แล้วทิ้ง) ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งสองชนิด

แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า เซลล์ปฐมภูมิ ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ

ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้หรือ เซลล์ทุติยภูมิ สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์

แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ "เซลล์เปียก" หรือแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก

รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ "เจลเซลล์") ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท "เซลล์แห้ง" ที่นิยมใช้กันในโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เซลล์ของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ

·         นิเกิล-แคดเมียม (NiCd) ,


·         ลิเทียม-ไอออน (Li-Ion)

 

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ส่งเสริมให้ประกอบกรรมดี

จากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากท่านเราะสูลุลลอฮ (ซ.ล.) ท่านได้รายงานจากพระผู้อภิบาลของท่าน ผู้ทรงจำเริญและผู้ทรงสูงส่ง พระองค์ได้ตรัสว่า "แท้จริงอัลลอฮได้ทรงบันทึกความดีและความชั่วทั้งหลาย แล้วพระองค์ได้ทรงชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า ใครก็ตามที่ปรารถนาจะทำความดีอย่างหนึ่งแต่แล้าเขาไม่ได้ทำ อัลลอฮจะทรงทันทึก ณ พระองค์วึ่งหนึ่งความดีอย่างสมบูรณ์ และหากเขาปรารถนาจะทำมัน แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ อัลลอฮจะทรงบันทึก ณ พระองค์ซึ่งสิบความดี และพระองค์จะทรงเพิ่นพูนอีกถึงเจ็ดร้อยเท่า และอาจจะเพิ่นทวีคูณอย่างมากมาย และหากเขาปรารถนาที่จะทำความชั่วอย่างหนึ่ง แต่แล้วเขาไม่ได้ทำ อัลลอฮจะทรงบันทึก ณ พระองค์ซึ่งหนึ่งความดีอย่างสมบูรณ์ และหากเขาปรารถนาที่จะทำมัน แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ พระองค์จะทรงบันทึก ณ พระองค์ซึ่งหนึ่งความผิดเท่านั่น" หะดิษบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม ในหนังสือเศาะหี้หของท่านทั้งสองด้วยถ้อยสำนวนนี้

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

คุณความดีที่ครอบคลุม

จากท่านอบู มาลิก นั่นคือ อัล-หาริษ อิบนุ อาศิม อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮอันฮุ เล่าว่า:ท่านเราะสูลุลลอฮ กล่าวว่า "ความสะอาดเป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา และการกล่าวว่า"อัลหัมดุลิลลาฮ" ผลบุญของมันจะเต็มตาชั่งในวันกียามะฮ และการกล่าวว่า "สุบหานัลลอฮ" และ"อัลหมดุลิลลาฮ" ผลบุญของทั้งสองประโยคหรือผลบุญของแต่ละประโยคนั่น จะเต็มระหว่างท้องฟ้าและผืนแผ่นดิน การละหมาดนั้นคือรัศมี การจ่ายซากาตคือหลักฐาน การอดทนคืนแสงสว่าง แลพอัลกรุอ่านคือหลักฐานสนับสนุนท่าน (หากท่านทำความดี) หรือไม่ก็คือหลักฐานมัดตัวท่าน (หากท่านทำชั่ว) มนุษย์ทุกคนย่อมขวนขวาย (เพื่อตัวเอง) ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ขายตัวเอง (ให้อัลลอฮ) ดังนั้นเขาก็คือผู้ปลอปล่อยตัวเขาเอง (จากการถูกลงโทษในไฟนรก) (และมีผู้ขายตัวเองให้กับชัยฏอนและตัณหาของเขา) ดังนั้นเขาคือผู้ทำลายตัวเองให้นินาศ" หะดิษบันทึกโดยมุสลิม