วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

การสรัทธาต่อกฎสถาวะ

จากท่านอบู:อัล-อับบาส อับดุลลอฮ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮอันฮุมา เล่าว่า: "ในวันหนึ่งในขณะที่ฉันนั่งอยู่ข้างหลังท่านนบี ท่านก็ได้กล่าวกับฉันว่า: "โอ้เด็กน้อย ฉันจะสอนถ้อยคำแค่เจ้า: เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮ แล้วอัลลอฮจะพิทักษ์เจ้า เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮ แล้วเจ้าจะพบพระองค์อยู่เบื้องหน้า เมื่อเจ้าจะวิงวอนขอก็จงวิงวอนขอต่ออัลลอฮ และเมื่อเจ้าจะขอความช่วยเหลือก็จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ แล้วเจ้าจงพึงทราบเถิดว่า หากประชาชาติทั้งหมดรวมกันเพื่อทำคุณประโยชน์อย่างหนึ่งแก่เจ้า พวกเขาไม่สามารถทำคุณประโยชน์ใดๆ แก่เจ้าได้เลยนอกจากสิ่งที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ให้แก่เจ้าแล้ว และหากพวกเขารวมกันทำอันตรายแก่เจ้าด้วยบ้างสิ่ง พวกเขามิอาจทำอันตรายใดๆ แก่เจ้าได้เลย นอกจากสิ่งที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ให้แก่เจ้าแล้ว ปากกาได้ถูกยกขึ้นและกระดาษทันทึกก็แห้งแล้ว "บันทึกโดยอัต-ติรมีซีย์ และท่านกล่าวว่า "หะดิษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้ห"
           และในรายงานอื่นนอกจากการรายงานของอัต-ติรมิซีย์มีสำนวนว่า: "เจ้าจงพิทักษ์อัลลอฮแล้วเจ้าจะพบอัลลอฮอยู่เบื้องหน้า เจ้าจงรู้จักอัลลอฮในยามสุขสบาย แล้วพระองค์จะรู้จักท่านในยามทุกข์ยาก และเจ้าจงพึงทราบเถิดว่า สิ่งใดที่คราดแคล้วจากท่าน มันย่อมไม่ประสบกับท่านและสิ่งใดที่มันประสบกับท่าน มันย่อมไม่คลาดแคล้วจากท่านอย่างแน่นอน และเจ้าจงทราบเถิดว่าชนะอยู่กับความอดทน และความสุขอยู่กับทุกข์ และความสะดวกง่ายดายอยู่กับความยากลำบาก"


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮ

จากท่านอบู วัร เราระฎิยัลลอฮอันฮุ เช่นกัน ท่านกล่าวว่า: มีเศาะหาบะฮของท่านเราะสูลุลลอฮกลุ่มหนึ่งได้กล่าวแค่ท่านว่า: "โอ้เราะสูลุลลอฮ ! พวกคนรวยได้เอาบุญไปหมดแล้ว พวกเขาละหมาดเหมือนกับพวกเราละหมาด และพวกเขาถือศีลอดเหมือนกับพวกเราถือศีลอด แต่พวกเขาได้บริจาคทาน (เศาะดะเกาะฮ) ดว้ยทรัพย์สินที่มีล้นเหลือของเขา" ท่านนบีกล่าวว่า: "อัลลอฮมิได้ทรงสร้างสิ่งที่ใช้บริจาคทานให้แก่พวกท่านดอกหรือ? แท้จริง ทุกๆ การตัสบีห (การกว่าวว่า"สุบหานัลลอฮ") เป็นการบริจาคทาน และทุกๆ การตัสบีห (การกล่าวว่า"อัลลอฮุอักบัร") เป็นการบริจาคทาน และทุกๆ การตะหมีด (การกล่าวว่า"อัลหัมดุลิลลาฮ") เป็นการบริจาคทาน และทุกๆการตะฮลีล (การกล่าวว่า ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮ) เป็นการบริจาคทาน และการสั่งใช้ให้ทำความดี เป็นการบริจาคทาน การห้ามปรามจากสิ่งที่ชั่วช้าเป็นการบริจาคทาน และการนอนหลับกับภรรยาของท่านก็การบริจาคทาน"พวกเขาถามว่า :"โอ้ท่านรอสูลุลลอฮ การที่คนใดคนหนึ่งจากพวกเราได้ระบายความใคร่ของเขาๆ จะได้รับผลบุญด้วยหรือ ?" ท่านรอสูลุลลอฮตอบว่า : "พวกท่านจงบอกฉันสิว่า หากเขาระบายความใคร่ของเขาในทางที่หะรอม เขาจะมีความผิดใช่ไหม ? ดังนั้นก็เช่นเดียวกัน หากเขาระบายความใคร่ของเขาในทางที่อนุมัติ (หะลาล) เขาก็ย่อมได้รับผลบุญ" หะดีษบันทึกโดยมุสลิม

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557


            เซลล์ปฐมภูมิ

แบตเตอรี่ (อังกฤษ: Battery) ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บพลังงาน และนำมาใช้ได้ในรูปของไฟฟ้า แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เช่น เซลล์กัลวานิกหรือเซลล์เชื้อเพลิง อย่างน้อยหนึ่งเซลล์

เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่าอาเลสซานโดร โวลตา เมื่อ ค.ศ. 1800 ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว [1]


ประเภทแบตเตอรี่สามัญ[แก้]

แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และชนิดใช้แล้วทิ้ง[แก้]


ตัวอย่างแบตเตอรี่หลายชนิด (จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง): ถ่านไฟฉายขนาด AA สองก้อน, ถ่านไฟฉายก้อนใหญ่ (D), แบตเตอรี่วิทยุสื่อสาร, ถ่าน 9 โวลต์ (PP3) สองก้อน, ถ่านไฟฉายขนาด AAA สองก้อน, ถ่านไฟถ่ายก้อนกลาง (C), แบตเตอรี่กล้องวีดีโอ, และแบตเตอรี่โทรศัพท์บ้านไร้สาย

จากมุมมองของผู้ใช้แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้; แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และ แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ (ใช้แล้วทิ้ง) ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งสองชนิด

แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า เซลล์ปฐมภูมิ ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ

ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้หรือ เซลล์ทุติยภูมิ สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์

แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ "เซลล์เปียก" หรือแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก

รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ "เจลเซลล์") ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท "เซลล์แห้ง" ที่นิยมใช้กันในโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เซลล์ของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ

·         นิเกิล-แคดเมียม (NiCd) ,


·         ลิเทียม-ไอออน (Li-Ion)

 

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ส่งเสริมให้ประกอบกรรมดี

จากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากท่านเราะสูลุลลอฮ (ซ.ล.) ท่านได้รายงานจากพระผู้อภิบาลของท่าน ผู้ทรงจำเริญและผู้ทรงสูงส่ง พระองค์ได้ตรัสว่า "แท้จริงอัลลอฮได้ทรงบันทึกความดีและความชั่วทั้งหลาย แล้วพระองค์ได้ทรงชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า ใครก็ตามที่ปรารถนาจะทำความดีอย่างหนึ่งแต่แล้าเขาไม่ได้ทำ อัลลอฮจะทรงทันทึก ณ พระองค์วึ่งหนึ่งความดีอย่างสมบูรณ์ และหากเขาปรารถนาจะทำมัน แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ อัลลอฮจะทรงบันทึก ณ พระองค์ซึ่งสิบความดี และพระองค์จะทรงเพิ่นพูนอีกถึงเจ็ดร้อยเท่า และอาจจะเพิ่นทวีคูณอย่างมากมาย และหากเขาปรารถนาที่จะทำความชั่วอย่างหนึ่ง แต่แล้วเขาไม่ได้ทำ อัลลอฮจะทรงบันทึก ณ พระองค์ซึ่งหนึ่งความดีอย่างสมบูรณ์ และหากเขาปรารถนาที่จะทำมัน แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ พระองค์จะทรงบันทึก ณ พระองค์ซึ่งหนึ่งความผิดเท่านั่น" หะดิษบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม ในหนังสือเศาะหี้หของท่านทั้งสองด้วยถ้อยสำนวนนี้

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

คุณความดีที่ครอบคลุม

จากท่านอบู มาลิก นั่นคือ อัล-หาริษ อิบนุ อาศิม อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮอันฮุ เล่าว่า:ท่านเราะสูลุลลอฮ กล่าวว่า "ความสะอาดเป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา และการกล่าวว่า"อัลหัมดุลิลลาฮ" ผลบุญของมันจะเต็มตาชั่งในวันกียามะฮ และการกล่าวว่า "สุบหานัลลอฮ" และ"อัลหมดุลิลลาฮ" ผลบุญของทั้งสองประโยคหรือผลบุญของแต่ละประโยคนั่น จะเต็มระหว่างท้องฟ้าและผืนแผ่นดิน การละหมาดนั้นคือรัศมี การจ่ายซากาตคือหลักฐาน การอดทนคืนแสงสว่าง แลพอัลกรุอ่านคือหลักฐานสนับสนุนท่าน (หากท่านทำความดี) หรือไม่ก็คือหลักฐานมัดตัวท่าน (หากท่านทำชั่ว) มนุษย์ทุกคนย่อมขวนขวาย (เพื่อตัวเอง) ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ขายตัวเอง (ให้อัลลอฮ) ดังนั้นเขาก็คือผู้ปลอปล่อยตัวเขาเอง (จากการถูกลงโทษในไฟนรก) (และมีผู้ขายตัวเองให้กับชัยฏอนและตัณหาของเขา) ดังนั้นเขาคือผู้ทำลายตัวเองให้นินาศ" หะดิษบันทึกโดยมุสลิม

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จงละทิ้งสิ่งที่ท่านเคลือบแครงสงสัย

จากท่านอบู มุหัมมัด นั่นคือ อัล-หะสัน อิบนุ อลีย์ อิบนุ อบีฏอลิบ หลานและผู้เป็นที่โปรดปรานของท่านเราะสูลุลลอฮ (ซ.ล) เล่าว่า: ฉันได้ท่องจำจากท่านเราะสูลุลลอฮ (ซ.ล) ว่า: "ท่านจงละทิ้งสิ่งที่ทำให้ท่านคลุมเครือ แล้วไปยึดเอาสิ่งที่มิได้ทำให้ท่านคลุมเครือ" หะดีษบันทึกโดยอัต-ติรมีซีย์ และอัน-นะสาอีย์ และอัต-ติรมิซีย์กล่าวว่าหะดีษบทนี้อยู่ในระดับหะสันเศาะหี้ห

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทุกคนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ

จากท่านอับดุลลอฮ อิบนุ อุมัร(ร.ด.) เล่าว่า...ท่านรอซูล(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า...พวกท่านทุกคน เป็นผู้มีหน้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบ และทุกคนจะถูกสอบสวนถึงความรับผิดชอบของเขา ผู้นำก็มีความหน้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบ และเขาจะถูกสอบสวนถึงความรับผิดชอบของเขา ผู้ชายมีหน้าที่ดูแลสมาชิกในครัวเรือนของเขา และเขาจะถูกสอบสวนถึงความรับผิดชอบของเขา สตรีมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องภายในบ้านของสามี และนางจะต้องถูกสอบสวนถึงความรับผิดชอบของนาง และคนใช้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในทรัพย์สินของเจ้านาย และเขาจะต้องถูกสอบสวนถึงความรับผิดชอบของเขา พวกท่านทุกคนมีหน้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบ และพวกท่านจะต้องถูกสอบสวนถึงความรับผิดชอบต่างๆ ของพวกท่าน (บันทึกโดย บุคอรีย์)

สิ่งที่ได้รับจากหะดิษ
1 ทุกๆ คน มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบกันทุกคน
2 ทุกๆ หน้าที่ ที่แต่ละคนรับผิดชอบนั้นจะต้องถูกสอบสวนถึงความสมบูรณ์ในการดูแลรับผิดชอบสิ่งนั้นๆ
3 ผู้นำ มีหน้าที่ดูแลผู้ตาม
4 ผู้ชายมีหน้าที่ดูแลเลี้ยงดูครอบครัว
5 ผู้หญิงมีหน้าที่ดูแลจัดแจงเรื่องต่างๆ ภายในบ้าน
6 คนใช้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์ของเจ้านาย